Ban Batt

(English below)

บาตรพระทำยังไง?

เป็นคำถามที่เราไม่เคยสงสัยมาก่อนเลย อันที่จริงคงเรียกได้ว่าไม่เคยสนใจด้วยซ้ำว่าทำยังไง ก็เห็นที่ขายอยู่ตามห้างว่ามันเป็นสแตนเลส ก็คงจะทำในโรงงานนั่นล่ะ

แต่คำถามนี้เกิดขึ้น เมื่อตอนอาจารย์บอกว่า จะพาพวกเราไปบ้านบาตร ไปดูการทำบาตรแบบดั้งเดิม ทำให้เราเริ่มสงสัยขึ้นมาว่า เฮ้ย มันมีชุมชนที่ทำบาตรพระด้วยหรอ แล้วเขาทำกันยังไง เหมือนในโรงงานรึเปล่า

เราไปบ้านบาตรเมื่อ 12 กันยายน 2557 ไปในฐานะนักเรียนออกแบบ ที่อาจารย์พาไปดูตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับงานออกแบบและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย ไปดูให้รู้ว่าไทยมีอะไร และไทยทำยังไง (แต่เราเพิ่งมาเขียนบล็อกทีหลัง เลยจะขอบันทึกความทรงจำย้อนหลังไว้หน่อย ว่าเราได้อะไรจากการไปบ้านบาตรมาบ้าง)

เราเริ่มต้นจาก กลุ่มอนุรักษ์บาตรไทยและภูมิปัญญาไทย บริเวณแยกเมรุปูน

เหมือนเป็นจุดต้อนรับและบริการข้อมูล มีการอธิบายขั้นตอนการทำบาตรให้ฟัง และมีช่างทำให้ดูเป็นบางขั้นตอน คือ การทำขอบบาตร การประกอบกง (แต่ยังไม่ได้ปิดกลีบบัว) การออกแบบรูปทรงและตีบาตร ตรงนี้มีขายบาตรที่ระลึกด้วย

จากตรงนี้ อาจารย์พาเราเดินเข้าไปดูการทำบาตรขั้นตอนอื่นๆ ในชุมชนบ้านบาตรต่อ เนื่องจากชาวบ้านที่นี่ทำงานประสานกัน ตามความถนัด ความชำนาญของแต่ละคน ตรงนี้ประกอบกงเสร็จ ส่งมาให้อีกคนประกอบกลีบบัว ส่งต่อให้คุณลุงช่างเชื่อม ทำการแล่นหรือเชื่อมประสานรอยบาตร เชื่อมเสร็จก็ส่งไปให้ช่างคนอื่นเคาะขึ้นทรงบาตร ตีลวดลาย ขัดตกแต่งผิว แล้วค่อยส่งไปสุมและทำสี เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำบาตรทั้งหมด

ขออธิบายขั้นตอนการทำบาตรเอาไว้หน่อย

1 ทำขอบบาตร 
เราเห็นช่างตัดแผ่นเหล็กตรงๆ ตามขนาดบาตรที่จะทำเตรียมไว้ และมีแผ่นที่ทำเป็นทรงครึ่งวงกลมไว้แล้ว ช่างจะนำแผ่นที่โค้งเป็นทรงครึ่งวงกลมมาใช้ค้อนตีตรงขอบไล่ไปเรื่อยๆ เพื่อจะทำให้โค้งประกบกันเป็นวงกลม

2 การประกอบกง 
ตรงนี้จะมีแผ่นเหล็กที่ถูกตัดเป็นรูปกากบาทไว้ เรียกว่า “กง” นำมาดัดงอเป็นทรงโค้งแบบถ้วยขึ้นมา เพื่อนำไปติดกับขอบบาตร แต่จะยังเหลือช่องว่างอยู่ 4 ช่อง ซึ่งช่างจะนำตัดแผ่นเหล็กที่รอบๆ ทำเป็นตะเข็บเอาไว้มา 4 ชิ้น ใช้คีมหนีบตะเข็บประกอบติดเข้ากับกง จะได้บาตรที่มีรอยตะเข็บ 8 รอย (เอกลักษณ์ของบาตรจากบ้านบาตร ต้องมีรอยตะเข็บ 8 รอย)

3 การแล่น
เชื่อมประสานรอยตะเข็บ โดยใช้เครื่องเป่าไฟและเส้นลวดเป็นตัวเชื่อม ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยฝีมือ ประสบการณ์ และความชำนาญมากทีเดียว เพราะถ้าเชื่อมไม่ดี บาตรก็รั่ว (ซึ่งคุณลุงช่างเชื่อมก็ชำนาญมาก เชื่อมไม่กี่นาทีก็เสร็จแล้ว)

4 การขึ้นรูปทรง
นำบาตรที่เชื่อมแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยใช้ค้อนรูปโค้งงอ ที่ร้านนี้ จะมีบาตรรูปทรงต่างๆ แขวนโชว์ไว้ให้ดูกันด้วย โดยบาตรมีทั้งหมด 5 ทรง ได้แก่ ทรงไทยเดิม ทรงตะโก ทรงมะนาว ทรงลูกจัน และทรงหัวเสือ

5 การตีบาตร 
ใช้ค้อนเหล็กตีผิวด้านนอกของบาตร เพื่อเก็บรอยตะเข็บ และทำผิวให้เรียบเสมอกัน แล้วนำไปเจียรต่อด้วยเครื่องเจียรไฟฟ้า เพื่อเก็บลายละเอียดของบาตรให้ผิวเรียบและเงา

6 การสุมบาตร 
เราเห็นชาวบ้านนำบาตรไปสุมกับไฟ ทำให้บาตรที่ได้มีสีดำ และป้องกันการเกิดสนิม

7 การทำสี 
ขั้นตอนนี้เราเห็นที่กลุ่มอนุรักษ์บาตรไทยและภูมิปัญญาไทย บริเวณแยกเมรุปูน เวลาลงสีดำจนทั่วบาตรในแต่ละครั้ง ก็จะพักทิ้งไว้และใช้ความร้อนช่วย ก่อนจะลงสีทับให้ได้สีที่เนียนเสมอกัน หรือบาตรบางใบก็ไม่ทำสี ทิ้งให้เห็นลวดลายที่เกิดจากการตีไว้

(สนใจอ่านข้อมูลแบบละเอียดได้ที่: http://www.banbatt.com/ขั้นตอนการทำบาตรพระ.html)

เสียงตอกบาตรมันดัง เดี๋ยวนี้ แถวนี้เป็นอาคารที่อยู่ บางทีคนเขาก็รำคาญ

เสียงของคุณป้าคนตีบาตรคนหนึ่งบอกกับพวกเรา ในขณะที่พวกเรากำลังดูคุณป้าตีบาตร สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านชุมชนบ้านบาตร

ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีบาตรปั๊มจากโรงงานในราคาที่ถูกกว่า ล้วนมีส่วนทำให้คนสั่งทำบาตรกับบ้านบาตรน้อยลง

อย่างน้อย เราก็ดีใจ ที่เรายังมีโอกาสได้เห็นการทำบาตรแบบดั้งเดิมของไทย แต่ก็ทำให้อดนึกไม่ได้ว่าหากไม่มีคนมาสืบทอด เรียนรู้การทำบาตรต่อไป คนรุ่นหลังจากเราจะยังมีโอกาสได้เห็นการทำบาตรของจริง ได้ใช้บาตรแบบดั้งเดิม หรือจะได้เห็นเป็นแค่วีดีโอ สิ่งของ อุปกรณ์ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น เพราะจากที่เราไปเห็น คนทำบาตรส่วนใหญ่เป็นรุ่นลุง ป้า ไปถึงรุ่นตาของเราแล้ว

ตอนนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า พามาดูว่าขั้นตอนการทำเป็นยังไง ใครเอาไปคิดต่อยอดทำงานออกแบบต่อได้บ้าง เพื่อไม่ให้ภูมิปัญญา หรืออาชีพเหล่านี้หายไป

เรายังไม่มีคำตอบให้กับคำถามในข้อนี้ของอาจารย์

แต่อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่า กว่าจะมาเป็นบาตร 1 ใบ ต้องอาศัยความชำนาญ ความตั้งใจ ใส่ใจ ในแต่ละขั้นตอนมากขนาดไหน ซึ่งความชำนาญ คงจะฝึกกันได้ แต่สิ่งที่ต้องมีมากกว่า คือ ความตั้งใจในการสืบสานภูมิปัญญาไทย และความใส่ใจในรายละเอียดการทำแต่ละขั้นตอน

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Page:

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1605116816169585.1073741833.1598589980155602&type=1&l=3fcbbae397

 


 

How to make the monk’s alms bowl?

I never have question about this before. In fact, I never interested or want to know because I see the monk’s alms bowl sell in the store and I think monk’s alms bowl is made from factory.

But after my teacher told that he would take us to Baan Batt to see the process of making monk’s alms bowl. So this question happened, Bangkok has the community that making monk’s alms bowl, hasn’t? How to make the monk’s alms bowl? Do the making process like in factory?

I went to Baan Batt on 12 September 2014 as a design student that teacher of design Thai culture heritage class took us to see What Thai made? and How it made? (But I recently create this blog, so I write this article later because I want to take notes about What I receive when I went to Baan Batt.

We start at Conserve Thai Monk’s Alms Bowl and Thai Wisdom Group that located on the corner of May Ru Poon Junction

As the welcome and information service. This place has the explanation about making the monk’s alms bowl process and has the craftsman making the monk’s alms bowl in some process such as making the edge of the monk’s alms bowl, assembling of edge with the metal sheet (but not finished yet), making the shape and hitting the monk’s alms bowl. And this place has the monk’s alms bowl for selling as a souvenir.

After, the teacher take us to see another process in Baan Batt community  because people in this community work together depend on their skills, this house finished assembling of edge with metal sheet, send these works to another house to assembling it with metal sheet that has seam, send it to welding, making bowl shape by knock inside the bowl, hitting outside the bowl and burnishing to make the seam disappear, burning and coloring to finished all process of making the monk’s alms bowl.

The process of making the monk’s alms bowl.

1 Making the edge of monk’s alms bowl.
I see the craftsman prepare the straight metal sheet that length equal width of monk’s alms bowl and has the curved metal sheet like a semicircle. The craftsman brings the curved metal sheet to hit it by a hammer for making curved and can make circle shape that becomes the edge of monk’s alms bowl.

2 Assembling of edge with metal sheet
This part has metal sheets were cut in cross shape call “Kong”. Bring it to curve in a bowl shape and assemble with the edge of monk’s alms bowl. But it still has 4 gaps, so the craftsman cut metal sheet and make seam around this sheet, using seam join with bowl shape. This process makes monk’s alms bowl has 8 seams. (8 seams become identity of monk’s alms bowl from Baan Batt)

3 Welding 
Weld the seams by using fire and wire. This process requires skill and experience because if the welding isn’t good, monk’s alms bowl can leak or crack. (The welder was very skilled, he weld every seam in few minutes to complete monk’s alms bowl)

4 Making bowl shape
After finish welding, Bring the bowl to knock inside for making the shape by using a curved hammer. This store has displayed shapes of monk’s alms bowl. The monk’s alms bowl has 5 shapes; Old Thai, Ta-ko (mean Diospiros rhodocalyx tree), Ma-nao (mean Lemon), Luk-jan (mean Diospyros decandra) and Hua-seua (mean Tight head)

5 Hitting the monk’s alms bowl 
Use hammer hitting outside the monk’s alms bowl to make the seam disappear and smooth. Use a polishing machine to make the bowl more smooth and glossy.

6 Burning
I see the craftsman bring the monk’s alms bowl to burn. This process makes monk’s alms bowl become black color and protect rust.

7 Coloring 
I see this process at Conserve Thai Monk’s Alms Bowl and Thai Wisdom Group. When they paint all over the monk’s alms bowl, they heat it for a while. They do in the same process until the monk’s alms bowl has smooth black color. Or some monk’s alms bowl doesn’t have color, show the pattern from hitting process.

(More detail information: http://www.banbatt.com/ขั้นตอนการทำบาตรพระ.html)

The sound from hitting the monk’s alms bowl is very loud. Around this area is the accommodations, the sound make people feel annoyed

One of the aunts tells us while we watch her hitting the monk’s alms bowl. Reflect the problem that happens with people in Baan Batt community.

Growing of technology and industry in nowadays, the factory produces the monk’s alms bowl that cheaper than handmade monk’s alms bowl from Baan Batt. This factor can make the order of making monk’s alms bowl from Baan Batt become lower.

At least, I’m glad that I have a chance to see the traditional process of making the monk’s alms bowl. But in the future, if they don’t have descendants to inherit process of making the monk’s alms bowl, people next generation will also have the chance to see the traditional process of the making monk’s alms bowl or have the traditional monk’s alms bowl for using. Or they will see all of these in the museum only. Because I see most of the craftsman is the middle age up to elder.

At that time, the teacher teold us that he takes us to see the process, Who can bring something that we see from this community to design something new? To prevent this Thai wisdom and profession disappear

I don’t have the answer for this question.

But, I know that to make 1 monk’s alms bowl. You must have skills, intention, and attention very much. The skills, you can practice. But something that more required is the intention to inherit the Thai wisdom and the attention in every process.

See more photos at Facebook Page:

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1605116816169585.1073741833.1598589980155602&type=1&l=3fcbbae397

Leave a comment